คำ “ตำหนิ” อย่างสร้างสรรค์มีค่ามากกว่าคำ “ชื่นชม” ลอยๆ

12,645 views
Share

321323232

     หลายคนมองว่าวงการ e-sport ก้าวไปไกลอย่างมากในต่างประเทศ หลายๆที่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการสร้างทีมนักกีฬาเพื่อที่จะแข่งเกมแบบจริงๆจังๆ จัดแข่งขัน หรือแม้แต่หันมาเปิดสอนอีสปอร์ต เบรคความคิดนั้นไว้แล้ววกกลับหันมามองที่บ้านเรากันซักนิด…ถึงแม้จะมีกลุ่มคนไม่น้อยที่คอยผลักดันวงการนี้อยู่ให้ทัดเทียมหรือเติบโตมากกว่าเดิมยิ่งขึ้นก็ตาม แต่คิดว่าเราแตกต่างจากตอนที่เริ่มแล้วหรือเปล่า? คำตอบคือ “ไม่” เลยครับ เราแทบจะไม่ได้ก้าวขาออกจากจุดเริ่มต้นเลยแม้แต่น้อย เราเป็นรองทุกอย่าง เพราะอะไรล่ะ?

IMG_73792

          ประเทศไทยมีสังกัด e-Sport ไม่ได้น้อยไปกว่าต่างประเทศหรอกนะครับ เพียงแต่ว่า การเล่นเกมเป็นอาชีพไม่ได้เป็นที่ยอมรับซักเท่าไหร่ในสังคมบ้านเรา และถึงแม้จะถูกยอมรับ แต่ก็ยึดเป็นอาชีพหลักที่จะมาหาเลี้ยงครอบครัวแทบจะไม่ได้ นอกเสียจากการเป็นนักกีฬาหรือที่เราเรียกติดปากว่า “Pro Player” ฉะนั้นแล้วคนที่จะเป็นโปรเพลเยอร์ในบ้านเราจึงมีน้อยกว่า “คนที่คิด” จะเป็นอยู่ค่อนข้างมากทีเดียว

         ในเมื่อมันไม่ใช่อาชีพที่หาเลี้ยงอะไรได้มากนัก นอกเสียจากการล่าเงินรางวัลจากการแข่งขัน จึงมีทีมและนักกีฬาที่ต้องการคว้าแชมป์ให้ได้เพิ่มขึ้นมา(บ้าง) แต่แม้ว่าในประเทศจะมีการแข่งขันมาเป็นสิบๆรายการตลอดหนึ่งปี แต่คนที่อยากได้แชมป์มี 100 คน แต่แชมป์มีเพียงแค่ 1 เท่านั้น เพราะแบบนั้น จำนวนคนที่คว้าแชมป์กับคนที่ผิดหวังมันจึงสวนทางกัน

427c6a8b90ddc5ec45edd9f79f67d20e

          การไปแข่งต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน มันก็เหมือนออกจากประตูบ้าน สู่โลกภายนอกล่ะครับ การที่ต้องเผชิญหน้าคนทั่วโลก มีสายตาจับจ้องมาที่ตัวคุณเป็นพันล้านดวง ไม่ว่าจะโดยตรงหรือจากโลกออนไลน์ แรงกดดันมหาศาลที่ต่อให้คนไม่เคยลงแข่งอย่างผมอธิบายยังไงก็พูดไม่หมดอยู่ดี เหมือนกับนักกีฬาทีมชาติที่ต้องลงสู่สังเวียนโดยมีผู้คนทั่วประเทศจับตามอง

Shanghai

         ผู้ที่ชนะในการแข่งขันก็จะได้รับสิ่งตอบแทน ไม่ว่าจะเป็นเงินรางวัล คำชื่นชม สรรเสริญมากมาย แต่มันก็มีเพียงแค่คนเดียวหรือทีมเดียวเท่านั้น กลับกันแล้วคนที่แพ้จะได้อะไรกันเล่า? แรงกดดัน ความเสี่ยงต่างๆนานา กลายเป็นว่าตกอยู่ในกลุ่มคนที่แพ้ และคิดว่าคนๆหนึ่งจะสามารถรับแรงกดดันขนาดนั้นได้แค่ไหนกันล่ะครับ?

trust

      ทีม Signature.Trust เป็นหนึ่งในตัวแทนทีม DOTA2 เพียงไม่กี่ทีมของประเทศไทยที่ได้เข้าแข่งขันในรายการต่างประเทศ และมักจะได้รับเชิญเข้าแข่งในรายการใหญ่ๆในแถบ SEA อีกด้วย แม้ในรายการระดับโลกที่ผ่านมาพวกเขาจะพลาดท่าเสียโอกาสไปหลายต่อหลายครั้งให้กับทีมใหญ่อื่นๆอย่างเช่น MVP.Pheonix จากเกาหลี หรือ Fnatic ก็ตามแต่

13082510_1130137407028863_105992403050611755_n

       แต่ล่าสุดในรายการ Manila Major ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการใหญ่ที่ทาง Valve เป็นผู้จัดขึ้นก็มาถึง เป็นเหมือนประกายความฝันและความหวังกลับมาให้เห็นอีกครั้ง เพราะหลายๆคนได้เห็นรายชื่อทีมเชิญเข้ารายการหลัก ซึ่ง 2 ใน 12 ทีมนั้น คือทีม MVP.Pheonix และ Fnatic ซึ่งเป็นทีมใหญ่และมักจะทำให้เราต้องพลาดท่าเสียโอกาสหลายครั้งในการไปแข่งรายการใหญ่แบบนี้

13082707_1130109837031620_6603162620293022503_n

       ตัวแทนทีมไทยถูกเชิญเข้าในรอบคัดเลือก จากทั้งหมด 10 ทีมในโซน SEA ซึ่งทั้งสิบทีมนั้นไม่มีชื่อสองทีมที่กล่าวมา และ Trust เองก็คือหนึ่งใน TOP ของฝั่งเอเชีย จึงพูดได้เต็มปากว่านี่เป็น “โอกาส” ครั้งใหญ่และมีความ “เป็นไปได้มากที่สุด” ที่ตัวแทนทีมไทยเราจะได้ก้าวสู่เวทีระดับโลก

         แต่แล้วความหวังนั้นกลับมอดไหม้ไปกับคำว่า “พ่ายแพ้” เมื่อทีม Trust ต้องมาพลาดท่าตกรอบใน Group Stage พ่ายแพ้ให้กับทีมอื่นๆ ไม่แม้กระทั่งจะมีโอกาสได้ลุ้นตีตั๋วไป Manila ด้วยซ้ำ…ซึ่งงานนี้ก็ทำเอาคนดูและหลายๆคนช๊อคกันไปตามๆกัน เพราะว่านี่เป็นโอกาสที่มีน้อยมาก ที่ทีมใหญ่เหนือกว่าเราไม่อยู่แล้ว และทีมไทยเราก็พูดได้เลยว่าไม่น่าเป็นรอง 10 ทีมในรอบคัดเลือกแบบนี้ ค่าความคาดหวังจึงสูงตามมาและสิ่งที่ตามมาให้กับผู้แพ้คือ “คำตำหนิ” และการ “ทับถม”

MW-DM776_esport_ZG_20150527143328

        ในฐานะ “คนดู”+”กองเชียร์”+”กองอวย”+”ติ่ง” ฯลฯ เราสรรเสริญทุกครั้งเมื่อมีนักกีฬา e-Sport บ้านเราไปสร้างชื่อเสียงในต่างประเทศหรือกลุ่มคนที่พยายามจะผลักดันวงการสู่ความก้าวหน้า เราหลายๆคนก็เชิดชูพวกเขาเป็นดังพระเจ้ากันทีเดียว…กลับกัน “คนที่แพ้” คนที่ล้มเหลวล่ะ เราทำอะไรบ้าง? ที่ผ่านมาผมเห็นแค่การ “ทับถม” “ตอกย้ำ” “ซ้ำเติม” จนบางทีมันบดบังคำว่า “ตำหนิ” ไปเลยมากกว่า

putting-the-blame-on-others-e1391539651719-1024x381

         บางครั้งคำ “ตำหนิ” ของบางคนก็ไม่ได้มีเจตนาที่จะยกระดับวงการ e-sport เลยแม้แต่น้อย พวกเขาก็แค่สร้างความเกลียดชัง สร้างเรื่องราวเพื่อความสะใจในความผิดพลาดของคนอื่นเท่านั้นเอง ซึ่งบอกได้เลยว่า “เจอ-บ่อย-มาก ” และนั่นอาจจะเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเราเป็นรองต่างประเทศก็ได้ เพราะขนาดพวกเรายังไม่ช่วยหนุนกัน มีแต่จะกดทับถมกันไปเรื่อยๆ แล้วแบบนี้เราจะไปข้างหน้าได้อย่างไร…“ผักตบชวาช่วยบำบัดน้ำเสียได้ก็จริง แต่ถ้ามีมากไปก็จะ ขวางทางน้ำ และทำให้น้ำเน่าได้เช่นกัน”

       เหล่าผู้ที่พ่ายแพ้ก็มีแต่จะต้องรับฟังเสียงเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น คำทับถม หรือคำตำหนิ อะไรที่ดีก็นำมาปรับปรุงแก้ไข จุดที่พลาดแล้วยังพลาดอีก ก็จงคิด คิด และคิดให้มากขึ้น ว่าทำไมถึงยังพลาดและพลาดได้อย่างไร? เพื่อที่วันข้างหน้าจะได้ไม่พลาดแบบเดิมๆ อะไรที่ไม่ใช่ก็ปล่อยผ่านมันออกไป สิ่งเหล่านี้คือ แรงกดดันของเหล่าผู้ที่พ่ายแพ้ แค่ต้องกลับมาคิดว่า จะเอาคำเหล่านั้นกลับมาคิด และแก้ใหม่ เมินหรือไม่สนใจเสียงรอบข้าง ก็อยู่ที่พวกเขาไม่ใช่คนดู

20602_1082220495184329_1632984198812322201_n

        ผมไม่ได้ห้ามหลายๆคน “ตำหนิ” ผมไม่ได้ห้ามหลายๆคนให้คอยเดือน คอยให้กำลังใจ แต่ว่าอย่ารอให้นักกีฬาบ้านเราเก่งแล้วค่อย”ชื่นชม”เลยครับ เพราะเมื่อถึงวันนั้น “คำชื่นชม” มากมายเหล่านั้นก็จะเป็นได้แค่ “คำชื่นชม” เท่านั้นไม่ใช่ “กำลังใจ”…ขอให้หลายๆคน “ตำหนิ” อย่างสร้างสรรค์  แม้ว่าจะมีคนไปไม่ถึงฝัน แต่พวกเขาเหล่านั้นควรได้รับ “การยกย่อง” มากกว่า “การทับถม” ในฐานะที่เราเป็น “คนดู”+”กองเชียร์”+”กองอวย”+”ติ่ง” ฯลฯ เราทำได้มากที่สุดแค่ไหนกันล่ะครับ? ขอฝากกลับไปคิดด้วย

Share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แผลเก่ายังไม่ทันแห้ง! เตรียมเปิดเซิร์ฟเวอร์ใหม่หรือจะซ้ำรอยเดิม?
จัดหนัก มันส์สะใจกว่าเดิม โดนใจคออีสปอร์ตพันธุ์แท้ Thailand Game Expo 2020 by AIS eSports พร้อมไฮไลท์เต็มอิ่มตลอด 4 วันเต็ม
เมื่อมาราธอน กับวงการสตรีมเมอร์ต้องจับคู่กัน พร้อมเงินหลักแสน
Thailand Game Expo by AIS eSports งานเดียวครบมันส์จุใจแบบจัดเต็ม อีสปอร์ต เกมใหม่ พร้อมโชว์สุดมันส์ 4 วันเต็ม
2 วันที่คุ้มค่า EXG 2018 Game on ให้อะไรมากกว่าการมางานเกม
ผิดเป็นครู? ตามดู PUBSTOMP งานที่ผู้จัดต้องพิสูจน์ตัวเอง