TGX Game Developer Conference 2011 ต่อยอดความคิดเพื่อนักพัฒนาเกมไทย

1,736 views

 

       ผู้จัดงาน TGX 2011 หรือ THE GAME XPO 2011 จากประเทศสิงคโปร์ ได้จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการภายใต้ชื่องานว่า  “TGX Game Developer Conference 2011”  ซึ่งมีตัวแทนนักพัฒนาเกมจากทั้งประเทศสิงคโปร์เองและตัวแทนนักพัฒนาเกมจากประเทศไทยมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดการพัฒนาเกม  โดยจัดขึ้นวันนี้ (25 ส.ค. 54) ณ โรงแรม แกรนด์เมอร์เคียว กรุงเทพฯ 

 

Mr. Aroon TAN 

     เริ่มจากตัวแทนนักพัฒนาจากสิงคโปร์  Mr. Aroon TAN  ขึ้นกล่าวถึงการทิศทางการมองหาตลาด โดยในปัจจุบันนักพัฒนาเกมส่วนใหญ่ในภูมิภาคแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่มักมองเห็นแต่ตลาดดังๆ ระดับโลก เช่น App store ของ Apple และ facebook  แต่กลับมองข้ามในตลาดระดับล่างๆ เช่นทางแถบ กลุ่มละตินอเมริกา และ เครือข่ายสังคมในจีน ซึ่งความจริงแล้วตลาดในแถบนี้ที่มีอัตราการแข่งขันต่ำแต่มีมีศักยภาพในการซึ้อสูง  โดยยกตัวอย่างจาก กลุ่มตลาดเกมละตินอเมริกา  เมื่อปีที่ผ่านมามีตัวเลขการซื้อ-ขาย Virtual Goods สูงถึงสามร้อยกว่าล้านเหรียญสหรัฐ

   
    แต่การจะนำเกมเข้าไปขายในตลาดระดับภูมิภาคเหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากสำหรับนักพัฒนาและผู้ประกอบการในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกเสียจากว่าจะมีพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือ  ดังนั้นหากต้องการจะเปิดตลาดในแถบเหล่านี้จริงๆ การพบปะพูดคุย การสร้างความรู้จักคุ้นเคย และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  จะเป็นการช่วยให้เรียนรู้ตลาดในแถบนี้และหาคู่ค้าทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น  ซึ่งจุดนี้งานเกมในระดับนานาชาติ เช่น งานTGX จะเป็นเวทีให้ทุกฝ่ายได้พบกันนั่นเอง

 Mr. Allan Simonsen

     จากนั้นทาง Mr. Allan Simonsen CEO บริษัท BoomZap จากประเทศสิงคโปร์ พูดถึงในส่วนของ Casual และเกม Social   โดยกล่าวว่า แม้นักพัฒนาหลายๆ คนจะมองว่าตลาดเกมในส่วนนี้ว่าหมดยุคไปแล้ว แต่ในความจริง ยังเป็นตลาดเกมที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าในกลุ่มนี้มักจะไม่มองว่าตัวเองเป็นคนที่เล่นเกม (หรือในภาษาบ้านเราเรียกเด็กติดเกม)  หากแต่จะเล่นก็เพื่อความบันเทิงเพียงเท่านั้นเปรียบเทียบก็เหมือนคนดูภาพยนต์ ละคร ซีรีย์หรือแม้กระทั่งหนังสือ (คู่แข่งจริงๆ ในตลาดก็จะเป็นสิ่งบันเทิงเหล่านี้เช่นกัน)

    โดยลูกค้าส่วนใหญ่ในกลุ่มนนี้จะเป็นผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง  25ถึง60 ปี  ซึ่งการที่จะดึงดูดใจให้ลูกค้าอยากจ่ายเงินเพื่อเล่นเกมของเรา ผู้ผลิตต้องทำให้เกมเล่นง่าย และไม่ยากเกินไปในการผ่านภารกิจระดับต่างๆ  โดยเฉพาะการเริ่มต้น ยิ่งทำให้เกมเข้าใจงได้ง่ายเท่าไรยิ่งเป็นผลดี  โดยอาจจะจัดให้มีการให้คำใบ้ในรูปแบบต่างๆ อยู่ในเกม นอกจากนี้เนื้อเรื่องในการดำเนินเกมก็จะช่วยให้ผู้เล่นถูกดึงดูด และเข้าถึงเกมได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน 

     นอกจากตัวแทนนักพัฒนาเกมจากประเทศสิงคโปร์แล้ว ยังมีตัวแทนริษัท TATA communications จากประเทศอินเดีย  Mr. Rajiv VERMA มาแนะนำตัวบริษัทซึ่งเป็นบริการศูนย์ฝากข้อมูลเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน  และจะช่วยให้ระบบการดำเนินงานของนักพัฒนาเกมทำได้ง่ายขึ้นด้วย

 คุณตวง  เธียรธนู

    มาถึงฝั่งตัวแทนจากประเทศไทยกันบ้างเริ่มที่ คุณตวง  เธียรธนู จากบริษัท Digitopolis พูดถึงตลาด Mobile Games และ Social Games ในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้  ว่าก่อนที่จะลงมือทำหรือพัฒนาเกมต้องรู้ก่อนว่าปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อและเล่นเกมของเกมเมอร์เปลี่ยนไป จากเมื่อก่อนที่ต้องไปที่ร้านขายเกมถึงจะซื้อเกมที่อยากเล่นได้ แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้สามารถซื้อเกมเล่นได้ทุกที่โดยไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อตามร้าน   การเล่นเกมก็เปลี่ยนจากแต่ก่อนที่เกมจะมีความยากต้องอาศัยเล่นจนชำนาญถึงจะสามารถเล่นได้อย่างสนุกแต่ในปัจจุบันหากจะให้คนมานั่งเล่นจนชำนาญคงเป็นไปได้ยากเพราะ ปัจจุบันหากเกมไหนที่เล่นยากเข้าใจยาก คนก็ไม่สนใจและมองข้ามเกม เกมนั้นไปเลย ดังนั้นก่อนที่จะพัฒนาเกม  Mobile Games และ Social Games  คุณตวงจึง เสนอให้คำนึงถึง 4 สิ่งนี้

 – Play จะทำอย่างไรให้ผู้เล่น เล่นเกมเรา ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการเป็นใคร เนื้อหาหลักหรือธีมเกมเป็นแบบไหน และให้นึกเสมอว่าต้องเล่นง่าย  เข้าใจเกมง่าย ไม่ซับซ้อนแต่จะต้องมีความสนุกของเกมอยู่ด้วย

 – Share ทำอย่างไรคนถึงจะบอกต่อให้คนอื่นเล่น ให้มองว่าเหมือนเราแพร่เชื่อไวรัสจากหนึ่งคนสู่คนอื่นต่อไปเรื่อยๆ  ซึ่งหากแชร์ไปให้คนอื่นเล่นมากก็จะได้รับสิ่งตอบแทนมากขึ้นด้วยไม่ว่าจะเป็น รางวัล  ไอเทม  เลเวล หรือของพิเศษต่างๆ จะทำให้เกมเข้าถึงคนหมู่มากได้ง่าย

 – Stay การที่จะให้เกมเมอร์เล่นเกมของเราไปนานๆ ก่อนอื่นเราต้องมีอัพเดทเกมตลอดเวลามีของใหม่ๆ มาล่อตาล่อใจเสมอ เช่น ไอเทมใหม่ เควสใหม่  หรือการทำให้ผู้เล่นรู้สึกดีกับตัวเกมด้วยเช่น การดีไซน์เกมสวยๆ ถูกใจผู้เล่น   นอกจากนี้การที่ทำให้ผู้เล่นรู้สึกว่าต้องเล่นเกมเรื่อยๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็เป็นอีกทางหนึ่งเช่นกัน เช่นการกำหนด energy  เหมือนดังเกมที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน

 – Pay ทำอย่างไรที่จะให้เกมเมอร์ยอมจ่ายเงินให้กับเราอย่างเต็มใจ ให้รู้สึกว่าการเสียเงินจ่ายแล้วสนุกและสามารถจ่ายให้เราได้เรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมาในรู้แบบของไอเทมแฟนชั่น เพิ่มความสวยงาม หรือแม้กระทั้งการที่เล่นเกมได้ง่ายขึ้นหรือเก่งขึ้นด้วย

   คุณตวงปิดท้ายด้วยการฝากถึงการพัฒนาเกมว่าให้ทำออกมาให้ดีที่สุด เพราะหากทำเกมออกมาดีแล้ว รับรองว่าอย่างไรก็จะมีตลาดมารองรับแน่นอน

 

 คุณเนนิน อนันต์บัญชาชัย 

     จากนั้นทาง คุณเนนิน อนันต์บัญชาชัย  CEO บริษัท Extend Interactive จำกัด ขึ้นกล่าวถึงเรื่องการ  statr up ของนักพัฒนาไทยเพื่อไปสู่ระดับโลกซึ่งจะมีหลักๆ อยู่ 3 สิ่งที่สำคัญคือ
 – build up your company การสร้างทีมงานขึ้นมา  ไม่ว่าจะเป็นการรวมตัวกัน การรับสมัคร หรือการไปหาจากคนรู้จักก็ได้
 – Setting your company goal การสร้างเป้าหมาย หรือความสำเร็จ นอกจากนี้ยังต้องสร้างเส้นทางที่จะไปสู่จุดนั้นด้วย
 – Development Budget ทุนในการพัฒนา การกำหนดต้นทุนในการพัฒนาจะช่วยในความคล่องตัวในการใช้จ่ายเงินสบาย ตัดความไม่จำเป็นในการใช้จ่ายลงจะช่วยเสริมให้สามารถมีกำไรจากการขายเพิ่มขึ้นด้วย

   คุณเนนินกล่าวเพิ่มเติมในส่วนของการทำงานว่า หาตัวเกมที่เราทำอยู่ช้าเกินไปให้กลับมาดูว่า บางครั้งคนหนึ่งคนอาจจะทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน ซึ่งอาจจะทำจนหลงลืมบางสิ่งบางอย่างไป พอกลับมาทำส่วนที่ขาก็ไม่เหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเป้าที่ตั้งไว้  วิธีแก้ให้แบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจนไปเลยว่าใครทำอะไรในส่วนไหนให้รับผิดชอบในส่วนนั้น  นอกจากนี้การทำการตลาดที่ดียังเป็นส่วนช่วยที่จะทำให้เราขายเกมได้ง่ายขึ้นด้วย

     ก่อนปิดการทางนักพัฒนาจากประเทศสิงคโปร์และนักพัฒนาของไทยรวม 5 ท่านขึ้นบนเวทีเพื่อๆ ร่วมตอบคำถามและแบ่งปันความคิดเห็นให้กับผู้มาร่วมงานโดยทั้ง 5 ท่านได้แก่  Mr. Aroon TAN ,  Mr. Allan Simonsen , , คุณเนนิน อนันต์บัญชาชัย  จากบริษัท Extend Interactive จำกัด ,คุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ จากบริษัท Debuz จำกัด และ คุณตวง  เธียรธนูจากบริษัท Digitopolis