ในหลวงทรงพระราชทานแนวทางป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพในปี 2538

1,138 views

….ในปี 2538 ในหลวงทรงพระราชทานแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพเอาไว้ 2 อย่างซึ่ง เน้นไปที่การขยายพื้นที่ในการรองรับน้ำซึ่งเป็นแนวกว้างและแนวยาว แต่ไม่ใช่เป็นความลึก โดยทรงให้สูบน้ำชายทะเลให้แห้งจากนั้นจึงใช้เครื่องเร่งน้ำโดยเฉพาะเพื่อเร่งน้ำใกล้บริเวณคันกันน้ำที่จะเข้าพระนครด้านใน โดยฉพาะคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองประเวศน์ คลองบางนา และคลองสำโรง ไม่ควรรับน้ำที่มาจากอยุธยารับเฉพาะในเขตพระนครเท่านั้นเพราะถ้าหากน้ำเหล่านั้นเข้ามาแล้วจะเป็นการยากที่จะรับมือ

….คลองเล็กๆ ต่างๆ พวกนี้จะต้องให้น้ำผ่านมากกว่า 2-3 เท่า เพราะเวลาเอาน้ำออกจากคลองๆ จะพัง น้ำหนักของดินที่อยู่ด้านบนจะกดลงไปและถล่มลง ทำให้เกิดความสียหายของคลอง คันน้ำ และบ้านที่อยู่บริเวณริมฝั่งคลอง ส่วนทางหลวงควรทำช่องน้ำให้กว้างขึ้นกว่าเดิม หากติดรางรถไฟให้เจาะใต้รางเพื่อให้น้ำผ่านไปได้

….เรื่องแนวคิดการขุดคลอง 3 เมตรให้น้ำผ่านไปได้เยอะ จริงๆ แล้วเป็นแนวทางที่ผิดเพราะจะทำมให้น้ำผ่านไปไม่ได้ เนื่องจากไม่มีความแตกต่างของระดับ ยกตัวอย่างคลองลึก 1 เมตรและ 3 เมตรต่างก็มีผลเท่ากัน เนื่องจากระดับน้ำในคลองนั้นอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1 เมตร ต่อไปหากน้ำทะเลขึ้นมาจะทำให้ระดับน้ำในคลองอยู่สูงกว่าน้ำในทะเล 10 ซม. ต้องทำให้กว้างขึ้นไม่ใช่ให้เจาะทางลึกเพราะนอกจากจะแพงแล้วยังไม่มีประโยชน์ด้วยส่วนตรงไหนเห็นว่าสะพานกว้างไม่พอ ให้ขยายเพราะไม่เช่นนั้นน้ำจะมาขังอยู่ตรงทางหลวงแทน เรื่องของความกว้างและความเทเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทำได้ด้วยการสูบน้ำชายทะเลให้แห้ง ส่วนความกว้างทำโดยการเจาะบริเวณสะพานให้กว้างพอ โดยเฉพาะบริเวณใต้สะพานที่กว้างไม่พอ

….ถือเป็นพระปรีชาสามารถของในหลวง และทรงมีความเป็นห่วงเป็นใยต่อราษฎร จึงได้มีการพระราชทานแนวทางเอาไว้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ซึ่งยังคงนำมาใช้ได้จนถึงทุกวันนี้อยู้

โพสท์ลง Youtube โดย : อาจารย์ สมเกียรติ อ่อนวิมล