ตะลึ่ง! พบปฏิทินมายาใหม่ ระบุเวลาเกินปี 2012

2,417 views

สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ Compgamer ทุกคน คอลัมนืนี้ เค้ามีข่าวมาบอกเล่าให้เพื่อนๆ ฟังด้วยนะวันที่ 11 พฤษภาคมว่าหรือวันนี้ของประเทศไทยเรา นักโบราณคดีพบปฏิทินมายาชิ้นใหม่ ระบุวันเวลายาวไกลจากปี 2012 ไปหลายพันปี การันตีโลกไม่แตกตามความเชื่อของชาวตะวันตก โดบทีมนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยบอสตันและมหาวิทยาลัยคอลเกตในสหรัฐฯ ได้ค้นพบห้องขนาดเล็ก ภายใต้ซากปรักหักพังของแหล่งโบราณสถานชุลตูน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัวเตมาลา โดยภายในห้องนั้น พบว่ามีปฏิทินมายาถูกจารึกอยู่บนฝาผนังห้อง มันมีอายุประมาณ 1,200 ปี ซึ่งปฏิทินที่ค้นพบชิ้นใหม่นี้ เป็นปฏิทินดาราศาสตร์ที่ชนเผ่ามายันระบุวันเวลานับจากวันที่บันทึกออกไปไกลกว่า 6,700 ปีข้างหน้า และนั่นแสดงให้เห็นว่า ณ ปัจจุบันนี้ วันเวลาที่นับจากวันที่จารึกปฎิทินดังกล่าว ได้ล่วงเลยมาเพียง 1,200 ปีเท่านั้น (คำนวณตามอายุของปฏิทิน ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อย) ดังนั้น หากจะมีวันสิ้นโลกตามความเชื่อของใครหลายคนจริง ๆ มันก็คงจะเกิดขึ้นในอีกเกือบ 6,000 ปีข้างหน้าเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าโลกยังคงอยู่อีกยาวนานนัก นอกจากนี้ ภายในห้องเล็กดังกล่าว ยังมีการบันทึกเกี่ยวกับการคำนวณคาบดิถี (คาบซินอดิก) ของดาวศุกร์ว่าอยู่ที่ 584 วัน ส่วนคาบดิถีของดาวอังคารนั้นอยู่ที่ 780 วัน พร้อมกับปรากฎการณ์บนดวงจันทร์ต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่ชาวมายันบันทึกไว้นั้น เป็นข้อมูลที่ตรงกับการคำนวณโดยนักดาราศาสตร์ปัจจุบันอย่างไม่น่าเชื่อ และที่น่าสนใจที่สุด คือ จากการตีความของผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิทินมายา พบว่า ชนเผ่ามายันไม่ได้ระบุว่าโลกจะถึงจุดจบในปี 2012 แต่อย่างใด การค้นพบที่ว่า สอดคล้องกับข้อมูลของศาสตราจารย์เลออนโซ แบร์เรโน ผู้เชี่ยวชาญด้านชนเผ่าและภาษามายันแห่งมหาวิทยาลัยเรจินา แคนาดา ที่ได้ออกมาเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ปฎิทินมายาของชาวมายันนั้นถูกตีความผิดมาโดยตลอด เขาเรียนการอ่านปฏิทินมายามาจากคนเฒ่าคนแก่ชาวมายันแท้ ๆ แต่ไม่มีชาวมายันคนไหนพูดถึงวันสิ้นโลกเลยสักคน พร้อมกับได้ให้ข้อสังเกตว่า ทุกวันนี้มีสารคดี บทความเกี่ยวกับวันสิ้นโลกตามคำทำนายของชาวมายันออกมาให้เห็นมากมาย แต่กลับไม่มีสื่อไหนเคยไปสัมภาษณ์กับชาวมายันแท้ ๆ เพื่อไขข้อข้องใจเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย สำหรับแหล่งโบราณสถานชุลตูนที่นักโบราณคดีได้ไปค้นพบปฏิทินมายาชิ้นใหม่นี้ เป็นพื้นที่ในป่าฝนซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมายันนับหมื่น ๆ คน ถูกค้นพบเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน และก็ได้รับความสนใจจากนักโบราณคดีมานับตั้งแต่นั้น

หลายๆ คนคงสงสัยใช่ไหมว่าปฎทินของชาวมายา ยังไง ปฎทินมายา เป็นปฏิทินของอารยธรรมอเมริกากลางหรือที่เรียกกันว่าปฏิทินชาวมายาสามารถสืบย้อนไปได้ถึงประมาณ 2300 ปีก่อคริสตกาล ลักษณะของปฏิทินประกอบด้วยวงรอบภายในวงรอบซ้อนกันหลายชั้น เชื่อกันว่าจุดมุ่งหมายหลักๆของปฏิทินในยุคแรกน่าจะใช้ในการทำนายทายทัก วันดี วันร้าย มากกว่าใช้เพื่อบอกวัน เวลาตั้งแต่ 2300 ก่อนคริสตกาลเป็นต้นมา ชาวมายาใช้ระบบ 260 วัน ปฏิทินในยุคนี้ใช้ระบบที่เรียกว่าโซลคิน (Tzolkin) ซึ่งเป็นระบบที่ผสมระหว่างตัวเลขและชื่อวันเลขวัน 13 เลข เมื่อประกอบกับชื่อวัน 20 ชื่อจะได้เป็นวงรอบที่ประกอบด้วย 260 วัน และชื่อวันทั้ง 20 ชื่อ

วิธีการใช้งาน ก็คือเรียกทั้งเลขวันและชื่อวันเรียงกันไปอย่างอิสระ เช่น 1-imix, 2-ik, 3-Akbal เรียงกันไปเช่นเดียวกับที่เราเรียก 1-อาทิตย์ 2-จันทร์ 3-อังคาร ถ้าเขียนเป็นปฏิทินหมุน ก็จะได้แบบนี้ แต่เนื่องจากจำนวนวันในหนึ่งปีมีมากกว่า 260 วัน ปฏิทินที่มีวันเพียงแค่ 260 วันจึงใช้อะไรไม่ได้มากกว่าการทำนายทายทัก วันดี วันไม่ดี หลังจาก 1492 ปีก่อนคริสตกาล ชาวมายาใช้ปฏิทินอีกระบบหนึ่งที่สอดคล้องกับฤดูกาลมากกว่า คือปฏิทินระบบ ฮาบ (Haab) โดยที่หนึ่งวงรอบจะมี 360 วันถึงแม้ว่าวันในปฏิทินระบบฮาบ จะใช้เลขวัน-ชื่อเดือนคล้ายกับปฏิทินระบบโซลคินแต่จะใช้วิธีนับแตกต่างกัน คือในระบบฮาบจะประกอบด้วยเลขวัน 20 เลข และชื่อเดือน 18 ชื่อ แต่เนื่องจากหนึ่งปีมีประมาณ 365 วัน ชาวโอเมค (Olmec) จึงเพิ่มเดือนพิเศษอีกหนึ่งเดือนที่มีวันเพียงแค่ 5 วัน โดยถือเป็นช่วงวันสิ้นปี ชื่อเดือน 19 ชื่อมีดังนี้

วิธีการนับ

วันจะนับเลขเรียงกันไป พอถึงเลข 18 ก็ขึ้นเดือนใหม่เช่นเดียวกับการที่เรานับ 29-พ.ค. 30-พ.ค. 31-พ.ค. 1-มิ.ย เนื่องจากระบบโซลคินถูกใช้มานานเป็นพันปี จึงมีความจำเป็นต้องใช้ต่อไปในโดยใช้เป็นหลักทำนายทายทัก เมื่อรวมกับระบบฮาบที่ใช้บ่งบอกฤดูกาล ก็อาจเขียนในรูปปฏิทินแบบวงรอบได้ดังรูปนี้

ปฏิทินในระบบโซลคิน-ฮาบนี้จะสามารถใช้ได้ถึง 13 ปีโดยที่ไม่มีวันที่มีเลข-ชื่อซ้ำกัน ในปี 747 ก่อนคริสตกาล เผ่าโอลเมคได้กำหนดใช้ปฏิทินแบบนับต่อเนื่องเป็นครั้งแรก โดยใช้ระบบ วัน (Kin) เดือน (Uinal) ปี (Tun) รอบยี่สิบปี (Katun) และรอบสี่ร้อยปี (Baktun) และกำหนดให้วันหนึ่งของปีนั้นเท่ากับ 6.0.0.0.0 (6 Baktun, 0 Katun, 0 Tun, 0 Uinal, 0 Kin) โดยจะตกที่ 11-Ahau 8-Uo

ปฏิทินแบบนับต่อเนื่องนี้จะไม่รวมวันสิ้นปีเข้าไปด้วย ถ้าคำนวณย้อนกลับมา วันที่ 0 (เริ่มต้นของปฏิทิน) จะตกในปี 3114 ก่อนคริสตกาล เมื่อเกิดระบบนับวันต่อเนื่อง ก็มีการผูกเรื่องราวต่างๆในบันทึกเข้ากับระบบนับวันแบบใหม่นี้ ชาวมายาถือว่าเหตุการที่เกิดขึ้นก่อนวันเริ่มยุค (ปี 3114 BC) เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นในยุคก่อนหน้านี้ และสิ้นสุดลงในวันที่ 13.0.0.0.0 หรือวันสุดท้ายของยุคที่สองตามตำนานบันทึกการสร้างโลก (Popol vuh) และชาวมายาถือว่าปัจจุบันนี้อยู่ในยุคที่สาม ชาวมายาถือว่า 1 ยุคมี 13 Baktun คาดว่าเนื่องจากในระบบปฏิทินแบบโซลคิน-ฮาบ จะมีการตั้งชื่อ Baktun ตามวันสุดท้ายของปีก่อนหน้าตามระบบโซลคิน ดังนั้นใน 1 ยุค จะมี Baktun ที่มีชื่อไม่ซ้ำกันได้เพียงแค่ 13 ชื่อเท่านั้น เมื่อสิ้นสุด 13 Baktun … กลุ่มที่ยังคงใช้ปฏิทินแบบนับต่อเนื่องในอเมริกากลางไม่ได้คิดว่าเป็นวันสิ้นสุดของโลก เช่นเดียวกับปี 3114 BC ไม่ใช่เป็นวันสร้างโลก แต่เป็นวันที่ขึ้นยุคใหม่ สำหรับผู้ที่ศึกษาอารยธรรมมายา ก็กำลังตกลงกันว่าหลังจาก หมดหน่วย Baktun แล้ว จะนับวันต่ออย่างไร อาจจะขึ้นปฏิทินใหม่แล้วเพิ่มหน่วย Piktun อีกหนึ่งหน่วยเป็น 1.0.0.0.0.0 ถ้าใช้หน่วย Piktun หมดแล้ว ก็ยังมีหน่วยรองรับอีกคือ Kalabtun, Kinchiltun และ Alautun อย่างไรก็ดีสิ่งที่ผู้ศึกษาอารยธรรมมายา ต้องตกลงกันก็คือ จะให้หน่วย Baktun หมดเมื่อครบ 13 หรือ 20 ดี เพราะในหลักฐานบันทึกก็มีใช้ทั้งสองแบบ