วีดีโอเกมกับตลาดในเมืองไทย (ก่้อนที่ PS , PC จะบูม)

4,748 views

……ไม่ว่าจะ Atari ที่โด่งดังในอเมริกาหรือ Famicom ที่ป๊อบปูล่าในญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยที่มีศักยภาพในด้านการรับวัฒนธรรมต่างประเทศที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ก็คงไม่พ้นที่จะได้สัมผัสเครื่องเล่นวีดีโอเกม และก็เป็นไปตามคาด ด้วยความทันสมัย เล่นไม่ยาก จึงสามารถครองใจเกมเมอรร์ชาวไทยได้ตลอดกาลแม้จะปรับยุคสมัยสู่การเล่นเครื่องเล่นเกมรุ่นใหม่ๆ และเกมออนไลน์จาก PC

….. แต่ทว่า จุดเริ่มต้นของการนำเข้าเครื่องเล่นเกมนั้นเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น จะขอเล่าประวัติการนำเข้าเครื่องเล่นเกมแบบคอนโซลตั้งแต่สมัย Atari จนถึง Famicom ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้คนไทยนิยมเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง

….. ปี พ.ศ. 2520 Atari 2600 เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นแรกที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทยด้วยราคา 199.99 US หรือประมาณ 5,000 บาทในสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากราคาที่สูง (ค่าเงินในสมัยก่อนนั้นแค่หลักสิบบาทก็มีราคาสูงประมาณหลักร้อยในปัจจุบันหรือ…อาจมากกว่านั้น) และการนำเข้าในสมัยนั้นไม่ได้ทำเป็นบริษัทตัวแทนนำเข้าอย่างเป็นทางการ รูปแบบการนำเข้านั้นจะเป็นการส่งตัวแทนซึ่งอาจเป็นรูปแบบผู้จัดซื้อของเจ้าของประเทศ ซึ่งอาจเป็นชาวไทยด้วยกันหรือคนเจ้าของประเทศที่รู้จักกันซื้อมาในราคาพิเศษ และนำเข้าไปยังพ่อค้ารับซื้อและนำมาวางจำหน่ายอีกที ซึ่งสภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ชาวไทยบางครอบครัวไม่สามารถซื้อได้ทันที (ใช้วิธีเก็บหอมรอมริบ) จึงทำให้ตลาดเครื่องเล่นเกมนั้นขายได้ด้วยความยากลำบาก แต่ชดเชยได้ด้วยตลับเกมที่สามารถหาได้เรื่อยๆ แต่ราคาตลับเกมก็สูงเช่นกัน

….. มาถึงยุคที่เกมเมอร์ชาวไทยที่รู้จักเครื่องเล่นเกมที่กว้างขึ้นจากเดิม บริษัท Nintendo ประเทศญี่ปุ่น ผลิตเครื่องเล่นเกมพกพาที่ชื่อว่า Game & Watch ซึ่งเป็นเครื่องเล่นพกพาหรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “เกมกด” ซึ่งมีราคาที่ถูกและสามารถพกไปได้ทุกที่ ประกอบกับการนำเข้าที่ง่าย รวดเร็ว และถูกกว่าการหิ้วของจากตะวันตกและมีแหล่งรับซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นเช่นห้างญี่ปุ่นในเมืองไทย หรือสำเพ็ง สะพานเหล็ก จึงทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็ยังไม่มีบริษัทตัวแทนนำเข้าของประเทศไทยเช่นเคย

….. และในช่วงที่ไล่เลี่ยไม่นาน ปี พ.ศ. 2526  บริษัท Nintendo ประเทศญี่ปุ่นได้ออกเครื่องเล่นเกมคอนโซลที่ใช้ชื่อว่า Family Compututer หรือเรียกย่อๆ ว่า Famicom ซึ่งมีความสามารถในการต่อเข้ากับโทรทัศน์เพื่อแสดงผลแบบ 8 Bit และยังเปลี่ยนตลับเกมไปมาได้ตามต้องการ ซึ่งเกมเมอร์ชาวไทยสามารถซื้อได้ในราคาที่เบาขึ้นจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นเพราะเศรษฐกิจและค่าเงินที่สูงขึ้น ประกอบกับสินค้าญี่ปุ่นที่มีราคาไม่สูงและเครื่องเล่นเกมจากเอมริกาได้หยุดการผลิตไปบ้างแล้ว ถึงแม้ยังไม่มีบริษัทตัวแทนนำเข้า Famicom ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการสั่งซื้อเข้ามาหลายเจ้าด้วยกัน ไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้าหรือตามแหล่งจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ายันร้านขายของเล่น สำหรับแหล่งจำหน่ายเครื่องเล่นเกม Famicom ในเมืองไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดนั้นมีด้วยกัน 3 ที่หลักๆ ได้แก่ ตลาดปีนัง (คลองเตย) สะพานเหล็ก  และมาบุญครอง แต่จะเปิดหลังตลาดปีนังและสะพานเหล็ก โดยราคาตัวเครื่อง Famicom ในยุคนั้นจำหน่ายในราคา 3,000-3,500 บาท

….. ส่วนการจำหน่ายตลับเกม Famicom ในเมืองไทยนั้น จะขายกันตามราคาความจุของข้อมูล (ไม่ใช่น้ำหนักตลับ ซึ่งกรณีนี้เคยเจอเหมือนกันโดยการยัดดินน้ำมันลงไปในตลับ) เช่น 24K , 48K,64K ,160K และ 320K เกมที่ขายในตลาดเมืองไทย ส่วนใหญ่เป็นตลับ Copy เนื่องจากตลับแท้มีราคาแพง ซึ่งอาจขายในราคาเกินพันบาทซึ่งถือว่าแพงมากในสมัยนั้นโดยหากเป็นเกม Copy ที่มีความจุตั้งแต่ 24K ถึง 64K ก็มักจะขายกันไม่เกิน 200-400 บาท แต่เกมใหม่ที่ความจุเยอะๆ เช่น 160K-320K ก็จะขายกันประมาณ 600-800 บาท คนไทยในสมัยก่อนจึงประยุกต์ระบบการแลกเกมขึ้น โดยร้านค้าจะตีราคาเกมใหม่ กับเกมเก่าที่ลูกค้าเอามาแลก  เรียกเงินส่วนต่างเพิ่มในราคาที่ไม่สูงมาก และเกมที่เก่านั้นก็จะขายทอดตลาดมือสองไป

เครื่องเล่นแฟมิลี่

ตัวอย่างโฆษณาอุปกรณ์เกมของเมืองไทย

….. ถึงแม้เครื่อง Famicom นั้นจะสามารถสร้างยอดจำหน่ายที่สูงในเมืองไทย และยังทำให้คนไทยรู้จัก Nitendo แต่ทว่าเครื่องเล่นเกมนั้นก็ยังมีราคาที่สูงและการซ่อมนั้นมีราคาที่แพงเพราะอะไหล่ต้องนำเข้า จึงทำให้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยอย่าง แฟมิลี่ หันมาผลิตเครื่องเล่นเกมในราคาที่ถูกลง โดยการสั่งซื้อวงจรภายในจาก Nitendo แล้วนำมาประกอบ ติดตั้งตลับรูปแบบพิเศษเพื่อให้ดูว่าแตกต่างจาก Famicom เล็กน้อย ซึ่งกลายเป็นเครื่องเล่นเกมของไทยเครื่องแรกที่ผลิตและจัดจำหน่ายในเมืองไทยโดยเฉพาะ ซึ่งมีข้อดีตรงที่มีราคาเครื่องที่ถูก สามารถเล่นตลับ Copy ได้และหากมีปัญหาก็สามารถส่งศูนย์เพื่อซ่อมได้ทันที พร้อมกับระบบประกันเครื่องด้วย

….. ในขณะที่เมืองไทย เครื่องเล่น Game & Watch นั้นหมดความนิยมแล้วก็ได้สัมผัสเครื่องเล่นเกมใหม่จาก Nitendo ก็คือ “Gameboy” เครื่องเล่นเกมพบพาเครื่องใหม่ล่าสุดที่สามารถเปลี่ยนตลับเกมอื่นเล่นได้ แม้จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Games& Watch แต่ด้วยที่มีความคุ้มค่าในการเล่นที่สูงและสามารถพกไปได้ทุกที่จึงได้รับความนิยมอย่างมากในเมืองไทย ประกอบกับเพิ่มจำนวนเกมเมอร์ไทยด้วยระบบหนังสือสูตรและนิตยสารที่เผยแพร่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของวงการเกม ึงทำให้คนทั่วไปและเหล่าเกมเมอร์สามารถหาซื้อมาศึกษาและเคลียร์เกมได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นช่วงที่คนไทยรู้จักวีดีโอเกมมาโดยตลอด ทั้งแง่ดีและแง่ลบ แต่ไม่ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร วีดีโอเกม หรือเกมคอมพ์พิวเตอร์ก็ซึมอยู่ในกระแสเลือดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่คนไทยผูกพันกับ “วีดีโอเกม”

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ :

– thairetro.com

– thaigaming.com

– play-360.com

– bbs.playpark.com

– fwdder.com

– http://jerkmag.wordpress.com