เกษมณี & ปัตตะโชติ??

17,344 views

…… เกษมณี กับ ปัตตะโชติ คืออะไร เป็นชื่อคน ชื่อสิ่งของ หรือฉายา แต่ที่แน่ ชื่อทั้ง 2 นี้อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของคุณที่กำลังดูเว็บนี้อยู่ ใช่แล้วมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จอ ซีพียู การ์ดจอ หรือเมาส์ แต่เป็นคีย์บอร์ดนั้นเอง

….. ซึ่ง เกษมณี และ ปัตตะโชติ นั้นก็คือชื่อเรียกของผังแป้นพิมพ์ภาษาไทย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับประเภทผังแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษทั้ง 2 ชนิดได้แก่ QWERTY และ Dvorak ซึ่งผังแป้นพิมพ์ทั้ง 2 แบบนั้นจะมีความแตกต่างในด้านการเรียงตัวอักษร ซึ่งจะขอสรุปคร่าวๆ ไว้ดังนี้

QWERTY คือการวางผังแป้นพิมพ์ที่ สามารถใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางในการพิมพ์คำได้มากที่สุด ซึ่งจะสามารถสร้างคำได้ทั้งซีกมือข้างใดข้างหนึ่งหรือมือทั้ง 2 ข้างได้ ซึ่งผังแป้นพิมพ์นี้ถูกจดสิทธิบัตรโดย Christopher Sholes ในปี 1874 โดยในสมัยนั้นใช้รองรับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และผังแป้นพิมพ์นี้ก็ได้ถูกถ่ายทอดมายังแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ดที่ใช้ในปัจจุบันนี้ รวมไปถึง Gaming Gear ประเภทคีย์บอร์ดก็รองรับผังแป้นพิมพ์แบบ QWERTY

หน้าตาผังแบบ QWERTY

Dvorak คือผังแป้นพิมพ์ที่ดัดแปลงการเรียงอักษรจาก QWERTY โดยเรียงลำดับตามความถี่ที่ใช้แทน เช่นตัวอักษร e ที่ใช้บ่อยนั้นจะอยู่ในแถวกลาง ทำให้การเคลื่อนไหวของมือน้อยลงเวลาพิมพ์ ซึ่งผังแป้นพิมพ์นี้ถูกจดสิทธิบัตรโดย August Dvorak ในปี 1936  เพื่อรองรับในเครื่องพิมพ์ดีดเช่นกัน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับ QWERTY แต่ทว่าปัจจับันก็ยังคงใช้งานกันอยู่ ซึ่งเท่าที่ทราบก็อาจเป็นองค์กรระดับสูงที่ทำงานด้านเอกสารสำคัญหรือบรรดานักเขียนมืออาชีพที่ต้องการความคล่องตัวในการพิมพ์

ผังแป้นพิมพ์แบบ Dvorak 

….. ทีนี้ผังแป้นพิมพ์แบบเกษมณี และ ปัตตะโชติ นั้นก็มีที่มาและการจัดเรียงที่คล้ายกับ QWERTY และ Dvorak ซึ่งมีความเป็นมาที่เหมือนโลกคู่ขนานดังนี้

ผังแป้นพิมพ์แบบเกษมณี เป็นผังแป้นพิมพ์แบบมาตรฐานที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งความเป็นมานั้น คิดค้นโดยสุวรรณประเสริฐ เกษมณี ซึ่งได้ศึกษาการจัดเรียงอักษรและวรรณยุกต์ไทยที่มีอยู่มาก โดยแป้นพิมพ์สมัยก่อนของ เครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว นั้นจะกินเนื้อที่มากเพราะใส่อักษร 1 ตัวต่อ 1 ปุ่ม ซึ่งนำมาดัดแปลงใส่ลงไปในแป้นพิมพ์แบบมาตรฐานเพื่อลดการใช้ที่ ซึ่งตัวอักษรที่ใช้บ่อยจะอยู่ด้านล่าง ตัวอักษรที่ใช้ไม่บ่อยก็จะต้องอยู่ด้านบน ซึ่งจะพิมพ์ได้นั้นต้องกดแคร่ (Shift) เพื่อปรับเป็นตัวบน และที่สำคัญแป้นพิมพ์ลักษณะนี้ไม่ได้ใส่ตัวอักษร ฃ และ ฅ  แต่ใช้ ข และ ค ในการอ่านเสียงแทนพวกนี้แทน เนื่องจากเครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว นั้นไม่ได้ใส่อักษรทั้ง 2 ตัวนี้ไปด้วยนี่เอง

ผังแป้นพิมพ์แบบเกษมณี 

เครื่องพิมพ์ดีดไทยสมิทพรีเมียร์แบบแป้นพิมพ์ 7 แถว เครื่องแรกของไทย ต้นแบบของการพัฒนาผังแป้นพิมพ์ทั้ง 2 ประเภท

….. สำหรับแป้นพิมพ์บนคัย์บอร์ดในปัจจุบันนี้ ก็ใช้หลักการเดียวกับแป้นพิมพ์แบบเกษมณี ซึ่งกำหนดขึ้นโดย มอก. 820 (TIS-620) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งความพิเศษของการพัฒนานี้ก็คือตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้อย่าง ฃ/ฅ ก็สามารถบรรจุเข้าไปได้โดยไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงแป้นคีย์บอร์ดแบบสากล สำหรับมาตรฐานในปัจจุบับคือ มอก. 820 – 2538 

จาก เกษมณีสู่การพัฒนาเป็น มอก. 820 – 2538 

ผังแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ นั้น ก็ได้เกิดขึ้นมาด้วยการเรียงอักษรใหม่ พัฒนาโดย สฤษดิ์ ปัตตะโชติ เนื่องจากการวิจัยของสฤษดิ์ชี้ให้เห็นว่า แป้นพิมพ์แบบเกษมณีจะมีการใช้งานมือขวามากกว่ามือซ้าย เช่นพิมพ์คำว่า นาย / นาง / นางสาว / ระเบียบ / สงวน /สมยอม เป็นต้น คำพวกนี้กระผมได้ลองพิมพ์ดู ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ซีกขวา ที่สำคัญตัวอักษรที่ใช้ไม่บ่อยบางตัวที่คนไทยต้องกด Shift บ่อยๆ นั้นก็จะปวดนิ้วก้อยขวาเพราะถูกใช้งานหนัก ซึ่งแป้นพิมพ์ชนิดนี้จะเฉลี่ยให้ทั้งสองมือใช้งานเท่า ๆ กัน และให้ลำดับนิ้วที่ใช้บ่อยคือนิ้วชี้ แล้วไล่ลงไปที่นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยที่ใช้งานน้อยที่สุด ซึ่งแป้นพิมพ์ชนิดนี้ ก็ได้ยอมรับจากการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติพบว่า แป้นพิมพ์ปัตตะโชติสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแป้นพิมพ์เกษมณีถึง 25.8% และยังช่วยลดอาการปวดนิ้วมือจากการพิมพ์ได้

ผังแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติ

….. แต่ที่ไม่นิยมใช้ในปัจจุบันนั่นเพราะว่า แป้นพิมพ์แบบเกษมณี ได้ใช้งานมายาวนานกว่าแป้นพิมพ์แแบบปัตตะโชติ จึงไม่ใช้เรื่องแปลกใจที่คุณผู้อ่านจะไปลองหาแป้นพิมพ์แบบปัตตะโชติไม่เจอ และที่สำคัญคีย์บอร์ดในปัจจุบันก็ได้ถูกตั้งค่าการพิมพ์แบบเกษมณีอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้อ่านจะมาลองดัดแปลงจากคีย์บอร์ดที่ใช้ (แม้แต่ Gaming Gear ที่ไม่ได้สกรีนภาษาไทยก็ตาม)

คีย์บอร์ดปัจจุบันจะใช้ผังแป้นพิมพ์แบบ QWERTY และ เกษมณี

….. สรุปแป้นพิมพ์ของเกษมณีจะคล้ายๆ กับ QWERTY ส่วนแป้นพิมพ์ปัตตะโชติ ก็คล้ายๆ กับ Dvorak ถึงแม้คนไทยจะไม่ได้เรียกทั้ง 2 คำนี้ (เพราะใช้คำอังกฤษแทน) แต่เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้คอมพ์พิวเตอร์ อย่างเราหรือผู้อ่านก็ตาม

ปอลอ : พระอาจวิทยาคม ผู้ที่ได้นำเข้าเครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเข้ามายังประเทศสยาม (ประเทศไทย) ก็ยังเป็นบุคคลแรกที่เปิดโรงเรียนสอนพิมพ์ดีดภาษาไทยแบบสัมผัสขึ้นในปี พ.ศ. 2470 อีกด้วย

พระอาจวิทยาคม (น้องชาย) และ โรงงานสมิทพรีเมียร์ในนิวยอร์ค 

ขอขอบคุณข้อมูลสำคัญโดย

– www.oknation.net

– th.wikipedia.org