Asia Content Business Summit 2011 ต่อยอดธุรกิจบันเทิงไทย

1,714 views

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (OCAC) ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (METI) จัดการประชุมสุดยอดธุรกิจบันเทิงแห่งเอเชีย ครั้งที่ 2 (The 2nd meeting of the Asia Content Business Summit) ระหว่างวันที่ 21-22 ก.พ. 54  ณ โรงแรมอมารี ออร์คิด พัทยา ในหัวข้อ “Creating a cross-border content market of the ASIAN Content Industry” เปิดเป็นเวทีสำหรับอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ได้แก่ ภาพยนตร์ ดนตรี ทีวี แอนิเมชั่น เกม ฯลฯ การนำเสนอโครงการและกิจกรรมของแต่ละประเทศในการดำเนินงานด้านธุรกิจบันเทิง พร้อมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นการสร้างเครือข่ายถึงการรวมตัวทางธุรกิจ ของอุตสาหกรรม การขยายตลาดและวิธีการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการนโยบายและขั้นตอนในการบังคับใช้กฏหมายลิขสิทธิ์ในแต่ละประเทศ ของเอเชียให้เจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพ มีผู้แทนเข้าร่วมจาก 8 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปินส์ ญี่ปุ่น และประเทศไทย

นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ประธานการจัดการประชุมสุดยอดธุรกิจบันเทิงแห่งเอเชียครั้งที่ 2 กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า เป็นการประชุมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของประเทศไทย ที่จะประกาศศักยภาพและความพร้อม ในการเป็นศูนย์กลางการตลาดด้านความบันเทิงที่สำคัญของเอเชีย และยังสร้างความเข้มแข็งในระดับเอเชียต่อการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมบันเทิงโลกด้วย

Asia Content Business Summit : ACBS มีบริษัทฯ จากนานาประเทศเข้าร่วมกว่า 40 บริษัท โดยวันแรกจะเป็นการเน้นนโยบายทางการค้า ของอุตสาหกรรม Film, Animation, Games, Ebooks, Social Media มีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ขึ้น นำเสนอโครงการ ทิศทางของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ของแต่ละ ประเทศโดยสับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน อาทิ บริษัท NHK Education Corporation จากประเทศญี่ปุ่น มานำเสนอผลงาน Animation ชุด MARIE&GALI The 1 Episode เป็นผลงานที่บริษัทมีความภูมิใจในการนำเสนอเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นผลงาน Animation ชิ้นแรกที่เปิดตัวในงาน เรียกความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานได้ เป็นอย่างดี อีกทั้งประเทศญี่ปุ่น ยังส่งบริษัท IE Institute Co.,Ltd. มานำเสนอ Software สำหรับเครื่องเล่นเกม Nintendo Ds ให้เป็นได้มากกว่าเครื่องเล่นเกมธรรมดา เพราะได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเรียนการสอนให้แก่เด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษาหรือคณิตศาสตร์

และตัวแทนจากประเทศไทยคุณยงยุทธ ทองกองทุน ผู้บริหารและผู้กำกับชื่อดัง จากบริษัท GTH กล่าวว่า ในปี 2510 ประเทศไทยมีรายได้จากอุตสาหกรรมภาพยนต์ประมาณ 3,600-3,700 ล้านบาท หรือประมาณ 115 ล้านดอลลาร์ โดยผลงานที่โดดเด่นของบริษัทและได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ได้แก่ภาพยนต์เรื่อง กวนมึนโฮ (Hello Stranger), The Shutter, เด็กหอ และในอนาคตบริษัทจะยังคงพัฒนาผลงานต่อ ๆ ไป

คุณภรวรรณ โกมลารชุน นายกสมาคมอิเล็คโทรนิคบันเทิง กล่าวว่า งานนี้ถือว่าเป็นการสร้างศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการจาก หลาย ๆ ประเทศ ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นการต่อยอดและพัฒนาวงการอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพราะงานในครั้งนี้ได้มีการจับคู่ธุรกิจเปิดโอกาสให้นักธุรกิจของนานาประเทศได้พูดคุยการ ค้าระหว่างกัน

ประชุมสุดยอดธุรกิจบันเทิงเอเชีย ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอด พร้อมผลักดันวงการอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในด้าน Film, Animation, Games, Ebooks, Social Media ให้ประเทศไทยเทียบเท่าระดับสากล และยังส่งผลต่อธุรกิจอื่น ๆ ของประเทศ